ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จิตวิญญาณความเป็นครู




จิตวิญญาณความเป็นครู

"...ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ทำแต่ความดี คือต้องหมั่นขยันและ อุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่นอดทน และอดกลั้น สำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติของตน ให้อยู่ในระเบียบ แบบแผนที่ดีงาม รวมทั้งต้องซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ..."
พระราชดำรัส พระราชทานแก่ครูอาวุโส. (28 ตุลาคม 2523). อ้างถึงใน กรมประชาสัมพันธ์
สำนักนายกรัฐมันตรี 
ครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไปอย่างน่าเป็นห่วง ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะเตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดีส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู   
ครูที่มีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้ นั่นคือ ครูที่ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู
และครูจะต้องถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึกและวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากในระยะที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมากจนน่าวิตก   ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ ภาระงานของครูมีมาก แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพ การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ เป็นต้น
               “ จิตสำนึกและวิญญาณครู”   จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา
 ให้กลับมาสู่อาชีพของครูให้ได้มากที่สุด

               สังคมไทยมีความคาดหวังในตัวครูสูงทุก ๆ ด้าน 
               ครูปัจจุบันมีคุณสมบัติลดหย่อนไปจากความคาดหวัง หรือเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดหวังไปบ้าง   
               แต่ก็มีคุณสมบัติบางด้านสูงกว่าที่สังคมคาดหวังก็มี
               เชื่อว่าในปัจจุบันครูมีสมรรถภาพสูงกว่าครูในอดีตในหลาย ๆ  ด้านอย่างแน่นอน  แต่บางด้านก็ต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

               การแก้ปัญหาและการยกระดับคุณภาพของครูให้สูงขึ้นคงต้องขึ้นอยู่กับ ผู้ที่เรียกตนว่า "ครู" แล้วละครับ

 เขียนโดย  คนเป็นครู

                                                                                                               http://www.gotoknow.org/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น